‘หน่วยรบพิเศษ’ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘กองกำลังพิเศษ’ โดยเป็นทหารที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างเข้มข้น ซึ่งหน้าที่ของพวกเขา คือ การปฏิบัติภารกิจพิเศษ เช่น หน่วยลาดตระเวน, หน่วยจู่โจมใต้น้ำ, ต่อต้านผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น สำหรับในประเทศไทย ทหาร-ตำรวจที่ผ่านหลักสูตรพิเศษจากทั้ง 4 เหล่าทัพมาแล้ว จะได้รับ ‘ปีก’ ซึ่งใช้เป็นตราสัญลักษณ์นี้ ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ให้เห็นว่าการรบพิเศษของแต่ละเหล่าทัพนั้น ไม่ได้มาง่ายๆ เลย ต้องผ่านการฝึกอันสุดโหดแสนสาหัสมาอย่างที่คุณอาจคาดไม่ถึงเลยทีเดียว

‘หน่วยรบพิเศษ’ ในประเทศไทย มีองค์กรฝึกสายลับไหม ?

สำหรับในประเทศสหรัฐเมริกามี หน่วยพิเศษที่เป็นงานสายลับอย่าง CIA, ประเทศอังกฤษมี MI6 ส่วนทางด้านรัสเซียก็มี KGB และ ‘หน่วยรบพิเศษ’ ในประเทศไทยที่ทำงานด้านสายลับมีด้วยหรือไม่ และถ้ามีเขาต้องฝึกอะไรกันบ้าง ?

สำหรับการจัดตั้งองค์กรสืบอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และ มีผู้ปฎิบัติภารกิจมาดเท่ อย่างในภาพยนตร์นั้น ในประเทศไทยของเราไม่มี หากแต่ก็มีสายข่าวของกรมข่าวทหารทั้ง 3 เหล่าทัพ และสายของสภาความมั่นคงแห่งชาติ นอกจากนี้ทหารเรือก็ยังมีสายข่าวทำงานในพื้นที่รับผิดชอบตามชายแดน เช่น ระนอง, ตราด รวมทั้ง 3 จังหวัดภาคใต้ โดยการทำงานของสายข่าวเหล่านี้ก็ไม่ได้มีฝีมือเท่าสายลับของต่างประเทศ หรือตามเห็นกันในภาพยนตร์ หากแต่มีขีดความสามารถในการ แฝงตัว/ ปะปนและกลมกลืนไปกับชาวบ้านในพื้นที่ได้อย่างดี เมื่อสืบทราบอะไรก็มาได้ก็จะส่งข่าวต่างๆ กลับมายังหน่วยงานของตน

หน่วยสืบสวนคดีลับ ในประเทศไทย

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (NIA)

จัดเป็นหน่วยงานราชการระดับกรม อยู่ภายใต้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยเป็นหน่วยข่าวพลเรือนระดับชาติเพียงหน่วยเดียวของประเทศไทย โดยมีผู้อำนวยการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ

กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ISOC)

อยู่ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ต่อต้านอันตรายคุกคามขนาดใหญ่ที่หวังมุ่งทำลายผลประโยชน์ รวมทั้งทำลายความมั่นคงของชาติอย่างรุนแรง โดยหน่วยงาน ISOC ขึ้นชื่อว่าเป็นฝ่ายการเมืองของกองทัพไทย มีพนักงาน 5,000 – 6,000 คนกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ มีอาสาสมัครถึง 500,000 – 600,000 คน นอกจากนี้ยังมีบุคคลอยู่ในเครือข่ายข้อมูลจำนวนหมื่นคนขึ้นไป

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)

DSI จัดเป็นหน่วยงานของรัฐ อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ปรากฏอยู่ในตามหน้าข่าวต่างๆ ในปัจจุบันจนคุณผู้อ่านหลายๆ คนอาจเกิดความคุ้นเคย ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน, ปราบปราม รวมทั้งควบคุมอาชญากรรม ซึ่งสามารถผลกระทบที่มีความร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ, สังคม, ความมั่นคงของราชอาณาจักร โดยเพื่อป้องกัน, ปราบปราม, สืบสวน รวมทั้งสอบสวนคดีพิเศษตามกฎหมาย เรื่องการสอบสวนคดีพิเศษความผิดทางอาญาซึ่งเป็นคดีพิเศษ