ตามที่ได้มีการบันทึกเรื่องราวของพระราชพงศาวดารในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการบันทึกเรื่องราวต่างๆและหนึ่งในนั้นก็มีเรื่องราวของ พันท้ายนรสิงห์ ทหารผู้กล้าหาญ
พันท้ายนรสิงห์นั้นมีชื่อเดิมว่า สิน เป็นคนธรรมดาๆที่มีฝีไม้ลายมือเก่งในเรื่องชกมวย ครั้งหนึ่งได้มีการแข่งขันชกมวยเหมือนกับที่ผ่านๆมาแต่ในครั้งนี้ นายสิน ได้ชกกับ พระเจ้าเสือ ที่ได้ปลอมตัวมาขึ้นสังเวียน โดยที่ นายสินเองไม่รู้ว่าเป็น พระเจ้าเสือ ภายหลังจากการต่อยมวยจบลง พระเจ้าเสือได้เรียกตัว นายสินมารับราชการ ในตอนนั้นเองที่ทำให้ นายสินได้รู้ว่าคู่ชกในวันนั้นคือ พระเจ้าเสือ นั้นเอง
ต่อมาก็มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า พันท้ายนรสิงห์ เนื่องจาก นายสิน ได้เป็นทหารของ พระเจ้าเสือ คอยคัดท้ายเรือให้กับ พระเจ้าเสือ นั้นเอง
มีอยู่วันหนึ่ง พระเจ้าเสือได้ทรงเสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกชัย โดยจะไปประพาสเพื่อทรงเบ็ต ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรีหรือที่รู้จักกันดีของคนในสมัยนี้ก็คือปากน้ำจังหวัดสมุทรสาครนั้นเอง เมื่อเรือพระที่นั่งเอกชัยได้ล่องไปตามลำธารน้ำจนมาถึงคลองที่มีชื่อคลองว่าคลองโคกขาม ตำบล โคกขามซึ่งมีความขดเคี้ยวเป็นอย่างมากจึงเป็นเหตุที่ทำให้ พันท้ายนรสิงห์ ที่มีหน้าที่คัดท้ายเรือนั้นไม่สามารถควบคุมเรือพระที่นั่งเอกชัยได้ จนทำให้เรือพระที่นั่งเอกชัยชนเข้ากับกิ่งไม้และเป็นเหตุที่ทำให้หัวเรือต้องหัก ในทันใดนั้น พันท้ายนรสิงห์ ได้กระโดดขึ้นฝั่งและกราบทูลทรงลงพระอาญาทันที ตามพระกำหนดถึงสามครั้งแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เกิดเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้มาแล้ว 2 ครั้ง แต่ใน 2 ครั้งนั้นเป็นอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยจึงไม่ได้มีการลงโทษแต่อย่างไร เช่นเดียวกันกับในเหตุการณ์ในครั้งนี้ที่เป็นอุบัติเหตุแต่ทว่า เรือพระที่นั่งเอกชัยได้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก พันท้ายนรสิงห์ จึงทูลต่อ พระเจ้าเสือ ให้ทำการลงโทษทันที พระเจ้าเสือเห็นว่าเป็นเพียงอุบัติเหตุจึงกล่าวว่าให้ลงโทษโดยการ “ตัดรูปแทนพ่อ”หมาความว่าให้ปันรูปปัน พันท้ายนรสิงห์ เพื่อลงโทษแทน แต่ พันท้ายนรสิงห์ ไม่ยอมให้ลงโทษที่ตัวของเขาเองเพราะถือว่าตัวเองมีความผิดและจะไม่ได้เป็นแบบอย่างคนอื่นๆ เมื่อพระเจ้าเสือได้ฟังเช่นนั้นแล้วก็สั่งให้ลงโทษโดยการประหารตามคำขอร้องของ พันท้ายนรสิงห์ และได้สั่งให้จัดตั้งศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้น จนศาลแห่งนี้ก็ยังมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนั้นเอง
ถือได้ว่า นายพันท้ายนรสิงห์ เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคนรุ่นหลังๆในการกระทำที่กล้าหาญและซื่อสัตย์จึงเป็นที่เคารพนับถือของคนในสมัยนั้นมาจนถึงปัจจุบันกันเลยที่เดียว